เครื่องดื่มบำรุงสมอง เครื่องดื่มบำรุงร่างกาย เครื่องดื่มโปรตีนเสริมภูมิต้านทาน สำหรับวีแกน ร้าน Pleasantor Thailand ขิง(Ginger)ช่วยคลายกังวลและต้านภาวะซึมเศร้าได้หรือไม่ - keenarry

ขิง(Ginger)ช่วยคลายกังวลและต้านภาวะซึมเศร้าได้หรือไม่

Last updated: 17 เม.ย 2564  |  2134 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ขิง(Ginger)ช่วยคลายกังวลและต้านภาวะซึมเศร้าได้หรือไม่

ขิงจัดว่าเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้ในเอเชียตะวันออก รวมทั้งประเทศอินเดีย นอกจากนี้ขิงยังถูกบรรจุในตำรับยาจีนสำหรับการรักษาโรคทางจิตเป็นเวลากว่าหลายร้อยปี ได้มีรายงานว่า ตำรับยาจีน Banxiahoupuมีขิงเป็นองค์ประกอบและใช้รักษาโรคทางจิต อาทิ เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะกังวลและโรคจิตเภท เป็นต้น [1]  ได้มีการศึกษาในหนูเพศผู้เกี่ยวกับฤทธิ์ต้านภาวะซึมเศร้า พบหนูที่ได้รับผงขิงมีภาวะซึมเศร้าลดลง [2] ซึ่งผลนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซโรโทนิน [3]  การศึกษาในหนูเพศเมียก็ได้มีการรายงานว่า สารสกัดขิงสามารถลดอาการกังวลได้ นอกจากนี้งานวิจัยนี้ ยังรายงานอีกว่า สารสกัดขิงยังสามารถใช้คลายความกังวลได้ดีเทียบเท่าการใช้ยาไดอะซีแพม (Diazepam)[4]  ซึ่งฤทธิ์คลายกังวลของขิงนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทซีโรโทนิน [4], [5] และได้มีงานวิจัยสนับสนุนว่าขิงสามารถกระตุ้นการทำงานของตัวรับของสารสื่อประสาทซีโรโทนินชนิด 1A (5-HT (1A)) [5] ซึ่งการกระตุ้นตัวรับสารสื่อประสาทซีโรโทนินชนิดนี้แล้ว จะมีผลทำให้ลดความกังวลและลดภาวะซึมเศร้าได้ สรุปได้ว่าขิงมีถทธิ์คลายกังวลและลดภาวะซึมเศร้าได้

 

[1] Li, J. M., & Kong, L. D. (2001). [Advances in the study on depressive and anxiety disorders treated with traditional Chinese medicine and herbal drugs]. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi, 26(12), 805-807.

[2] Khaki, A., Farnam, A., Rouhani, S., Imantalab, B., &Seery, S. (2013). ANDROGENIC ACTIVITY EVALUATION OF GINGER RHIZOME IN REDUCING DEPRESSION IN THE FORCED SWIMMING TEST OF RATS EXPOSED TO ELECTROMAGNETIC FIELD (EMF) [Article]. INTERNATIONAL JOURNAL OF WOMEN’S HEALTH AND REPRODUCTION SCIENCES, 1(2), 56-63.

[3] S N, H., &Anilakumar, K. (2012). Anxiolytic effects of the extracts of Zingiber officinale in mice. J PharmRes, 5, 219-223.

[4] Adaki, F., Modaresi, M., &Sajjadian, I. (2017). The Effects of Ginger Extract and Diazepam on Anxiety Reduction in Animal Model. Indian Journal of Pharmaceutical Education and Research, 51, s159-s162. https://doi.org/10.5530/ijper.51.3s.4

[5] Nievergelt, A., Huonker, P., Schoop, R., Altmann, K. H., &Gertsch, J. (2010). Identification of serotonin 5-HT1A receptor partial agonists in ginger. Bioorg Med Chem, 18(9), 3345-3351. https://doi.org/10.1016/j.bmc.2010.02.062


 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้